ปัญหาผิวอาจเกิดจาก “#โฟมล้างหน้า” ในแต่ละวันหมอจะได้พบกับคนไข้ที่มีปัญหาผิวที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสิว และผิวแพ้ระคายเคือง หลายคนพยายามที่จะแต่งหน้าเพื่อปกปิด แต่ก็ยังมองเห็นผิวที่ไม่เรียบเนียน บางครั้งลอกเป็นขุยๆ แน่นอนว่า..หมอจะต้องจ่ายยารักษา แต่เมื่อหายแล้ว #จะทำยังไงเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นอีก คำตอบก็คือ “#ดูแลผิวให้ถูกวิธี”
การ #ล้างหน้า เป็นขั้นตอนแรก และ
#เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุดของการดูแลผิว
#เพราะถ้าดูแลไม่ดี..
#เราก็จะทำร้ายทำลายผิวตัวเอง..
#โดยไม่รู้ตัว
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่า.. #เราล้างหน้าเพื่ออะไร?
คำตอบก็คือ.. #ชะล้างเอาไขมันส่วนเกิน (sebum) และสิ่งสกปรกต่างๆออกจากผิว
โดย #ไม่ทำลายเกราะปกป้องผิว (skin barrier) และ #ไม่ทำให้เกิดสิว และ #ไม่ทิ้งสารตกค้าง
แล้วเราจะ #เลือกผลิตภัณฑ์แบบไหนดี?
เพราะสารทำความสะอาดบางอย่างทำให้เกิดการชะล้างมากเกินไป.. เกินความจำเป็น ทำให้เกิดการทำลายผิวแล้วเกิดปัญหาตามมาได้ ยิ่งผิวที่มีปัญหาอยู่แล้วยิ่งต้องระมัดระวังและยิ่งเลือกนะคะ
ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า แบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ๆค่ะ
1. #Soap หรือสบู่แท้
เป็นสิ่งที่มีมาแต่โบราณ สมัยเด็กๆทุกคนคงเคยได้เรียน ว่าด่าง + น้ำมัน ทำให้เกิดสบู่ มีคุณสมบัติชะล้างได้ดี (เกิ้นนนนน) จะมีpH9-10 แต่ผิวเราpHแค่5.5เองค่ะ จึงทำให้เกิดการระคายเคืองได้ คนที่มีผิวแข็งแรงอาจรู้สึกแค่ความแห้งตึงหลังล้างหน้า แต่สำหรับคนผิวมีปัญหาก็ไม่ต้องพูดถึงนะคะ.. เยินแน่นอน
2. #Synthetic detergent (Syndets)
เมื่อโลกหมุนสิ่งใหม่ๆดีๆก็เกิดขึ้น เป็นที่มาของผลิตภัณฑ์ non-soap หรือ soap-free รวมถึง pH5.5 ที่อ่อนโยนต่อผิวกว่าเดิม
3. #Combar
ตัวนี้เป็นลูกครึ่งระหว่าง Soap และ Syndets ที่ยังรักษาpH9-10 ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น เหมือนเดิมคือ ระคายเคือง คราวนี้Synthetic detergents ก็ยังต้องเลือกกันให้ดีๆ เพราะมีหลายตัวด้วยกันค่ะ แบ่งเป็นกลุ่มตามขั้วประจุไฟฟ้าได้ตามนี้ค่ะ
3.1 #Anionics (ประจุลบ)
เช่น Sodium Lauryl Sulfates หรือ SLS เป็นตัวที่มีคุณสมบัติชะล้างได้ดีสุดในกระบวน มักเป็นสารทำความสะอาดในสบู่เหลว แชมพู น้ำยาล้างจาน แน่นอนว่า.. สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองผิวได้ เพราะอาจทิ้งสารตกค้าง ของสารที่มีประจุไฟฟ้า ทำลายเซลล์ผิว ทำให้ผิวเหี่ยวแห้งไว แถมยังถือว่าเป็น comedogenic agent อาจทำให้เกิดสิวได้อีกด้วยค่ะ ผิวแพ้ง่าย ผิวสิวควรหลีกเลี่ยงนะจ๊ะ เวลาเลือกเราดูได้จาก SLS-free หรือ Sulfated-free บนฉลากค่ะ
3.2 #Cationics (ประจุบวก)
นิยมใช้ในแชมพูค่ะ เพราะจะช่วยให้ผมนุ่ม ลดปัญหาผมชี้ฟูได้ เช่น Cetrimonium bromide, Benzalkonium chloride
3.3 #Amphoteric
เป็นสารที่มีประจุบวกและลบอยู่ในตัวเดียวกัน เช่น Cocamidopropyl betaine, Phosphatidyletanolamine คุณสมบัติเด่นคือ เข้าตาแล้วไม่แสบ.. ที่มาของคำว่า no more tear นิยมใส่ในแชมพูเด็กกันค่ะ
3.4 #Non-ionic
เป็นตัวที่อ่อนละมุนต่อผิวที่สุดละค่ะ เช่น Decyl glucoside, Lauryl glucoside เหมาะสำหรับผิวที่มีปัญหาต่างๆ เพราะเป็นตัวที่ไม่มีประจุไฟฟ้า จึงไม่ทิ้งสารตกค้างบนผิว ถึงแม้จะเป็นตัวชะล้างอ่อนๆ อาจจะมีฟองน้อยหน่อยหรือไม่มีเลย แต่ก็เพียงพอสำหรับการทำความสะอาดผิวหน้านะคะ เป็นที่มาของคำว่า Non foaming (โฟมไม่มีฟอง) นั่นเอง สารทำความสะอาดชนิดนี้จึงเป็นที่นิยมมากที่สุด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับผิวที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
#สรุป
สำหรับผิวที่มีปัญหา หรือ ผิวที่ไม่อยากให้มีปัญหา ควรเลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ทำลายผิว มีคุณสมบัติตามนี้ค่ะ.. Soap-free, pH5.5, SLS-free หรือ Sulfated-free, Non foaming (Non-ionic), Non-comedogenic ลองเอามาล้างหน้าแล้วไม่ทิ้งความแห้งตึงให้กับผิว
และที่สำคัญ..
ล้างแต่พองาม.. #ไม่ควรใช้เวลานานเกิน 1 นาที ในการล้างหน้านะคะ
มีคำถามอะไร.. คอมเม้นใต้ภาพกันนะคะคนดี
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนและคนที่คุณรักนะคะ
#หมออุ๋ม
แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง